ชมรมโภชนาการ

         ชมรมโภชนาการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม  2542  กรรมการชมรม  16  คน  สมาชิก  43  คน

วัตถุประสงค์ เพื่อ

        1. ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่  ผู้ป่วยและญาติ  ได้รับอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

        2. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน  จากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

        3. ผู้ประกอบอาหารของโรงพยาบาลมีหลักการ และแนวทางในการประกอบอาหารที่ถูกต้อง

        4. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง  และกลับบ้านสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว

        5. จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการรับประทานอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่  ผู้ป่วยและญาติ

เป้าหมาย

        1. เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลบ้านลาด

        2. ผู้ป่วยและญาติ

        3. ประชาชนในชุมชน

กิจกรรมชมรมดังนี้

        1. ประสานงานกับโรงครัว  จัดอาหารเพื่อสุขภาพให้ผู้ป่วย  เช่น  ข้าวกล้อง  อาหารปลอดสารพิษ  สำหรับผู้ป่วยทุกวัน  สำหรับเจ้าหน้าที่ร่วมกันรับประทานข้าวกล้องทุกวันพฤหัสบดี  ในราคาประหยัด

        2. มีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วย  ดังนี้

            2.1 รายการ  5  นาที  เพื่อสุขภาพ  ออกเสียงตามสายทุกวันจันทร์  เวลา 9.00.

                2.2 สาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ  1 ครั้ง/ 2 เดือน  ที่ OPD , WARD

                2.3 ให้สุขศึกษาเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ  ในชมรมผู้สูงอายุและโรงเรียน

            2.4 แจกแผ่นพับเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ

        3. สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ปลูกผักปลอดสารพิษในโรงพยาบาล  เช่น  พืชผักสวนครัว 

        4. ตั้งร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ  บริการเจ้าหน้าที่  ผู้ป่วย,ญาติ  ประชาชนทั่วไป ที่งานกายภาพบำบัด

        5. รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยงดดื่มน้ำอัดลม, ชา, กาแฟ

            5.1 ประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ทุกคนตระหนักถึงโทษของน้ำอัดลม, ชา, กาแฟ

            5.2 ไม่เลี้ยงน้ำอัดลม, ชา, กาแฟ  สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้มาศึกษาดูงาน

        6. ให้คำแนะนำ ควบคุม กำกับร้านค้าภายในโรงพยาบาล  ให้รู้จักเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ  ปลอดสารพิษ  สะอาดถูกหลักอนามัย  มาใช้ในการประกอบอาหาร

        7. ให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติการในโรงอาหารของโรงพยาบาล  ในเรื่องประโยชน์ของอาหาร  การเลือกซื้ออาหาร  เครื่องปรุงที่ใช้ในการประกอบอาหาร  และวิธีประกอบอาหารอย่างถูกวิธี

        8. ตรวจสอบอาหาร  เครื่องปรุง  ภาชนะใส่อาหาร  การเก็บล้างทำความสะอาดภาชนะและสถานที่  ที่ใช้ประกอบอาหาร   ในร้านค้าของโรงพยาบาลพร้อมกับให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการ

        9. จัดทำรายการอาหารของผู้ป่วยในแต่ละวันชัดเจน  โดยแยกประเภทของอาหารต่างๆ  ให้เหมาะสมกับสภาพและโรคของผู้ป่วยตามแนวทางการรักษาของแพทย์

การประเมินผล

- เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ  ได้ปฏิบัติตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

- สอบถามผลกระทบ  ที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติการ  เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข

- เปรียบเทียบอัตราการป่วยของเจ้าหน้าที่  ที่ป่วยโดยโรคระบบทางเดินอาหาร  ก่อนตั้งชมรมโภชนาการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          1. เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยมีสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไปในทางที่ถูกต้อง

        2. ผู้ประกอบอาหารสามารถเลือกใช้อาหารที่มีคุณค่า   สะอาด  ปลอดภัย  และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับปรุงอาหารที่ถูกต้อง  ได้มาตรฐานใช้ในการประกอบอาหารได้

        3. ผู้ป่วยได้รับอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ  และตรงกับสภาพของร่างกาย  และโรคที่เป็นอยู่

        4. โรงพยาบาลบ้านลาด  พัฒนาไปสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ   โดยเริ่มจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล  และผู้ป่วย 

 


   Main