ชมรมป้องกันโรคและอุบัติเหตุ ...

โรงพยาบาลบ้านลาด

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ผู้มารับบริการ และประชาชนทั่วไปมีความรู้  และเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้มากขึ้น

2. เพื่อให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกแก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ผู้มารับบริการ  และประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุมากขึ้น

3. เพื่อลดปริมาณและความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ  และโรคที่สามารถป้องกันได้

  เป้าหมาย

      1. เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลบ้านลาด            

2. ผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านลาด

3. ประชาชนทั่วไปในชุมชนในเขตอำเภอบ้านลาด

4. สิ่งแวดล้อมในการทำงาน                                                                          

 การดำเนินงาน

 1.  ในด้านการป้องกันโรค

ให้ความรู้ทางเสียงตามสายของโรงพยาบาล, ให้สุขศึกษาเป็นรายกลุ่มเกี่ยวกับโรคต่างๆ 1 ครั้ง / สัปดาห์

ให้สุขศึกษาเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคหรืออาการต่างๆขณะซักประวัติก่อนแพทย์ตรวจ  เช่น  ท้องร่วง,  การเช็ดตัวลดไข้ (สาธิต) ฯลฯ

จัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคต่างๆ  แจกเอกสารแผ่นพับ พร้อมหน่วยอำเภอเคลื่อนที่  3  ครั้ง/ปี

จัดทำโครงการตรวจสุขภาพประจำปีแก่เจ้าหน้าที่ 1  ครั้ง / ปี

ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรคแก่เจ้าหน้าที่เมื่อมีการประชุมร่วมกันของ  4  ชมรม  1  ครั้ง / เดือน  

 2. ในด้านการป้องกันอุบัติเหตุ

            2.1 ให้ความรู้ทางเสียงตามสายของโรงพยาบาลเกี่ยวกับ

การป้องกันอุบัติเหตุจราจร 1  ครั้ง / สัปดาห์ โดยเน้นการสวมหมวกนิรภัย, การคาด  เข็มขัดนิรภัย  และเมาไม่ขับ

การป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน  โดยการทำกิจกรรม  5  .  ทุกวันก่อนทำงานและก่อนเลิกงาน

2.2  จัดบอร์ดรณรงค์การป้องกันอุบัติเหตุจราจรช่วง เทศกาลต่างๆในโรงพยาบาล  ได้แก่  เทศกาลปีใหม่,  ตรุษจีน,  สงกรานต์   3  ครั้ง / ปี

2.3  จัดบอร์ดรณรงค์การป้องกันอุบัติเหตุจราจร  แจกเอกสารแผ่นพับ  พร้อมหน่วยอำเภอเคลื่อนที่ 3  ครั้ง / ปี

2.4  จัดทำโครงการซ้อมแผนรับอุบัติเหตุหมู่ 1  ครั้ง / ปี          

2.5  จัดทำโครงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพแก่พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  1 ครั้ง / ปี

2.6  ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุแก่เจ้าหน้าที่ เมื่อมีการประชุมร่วมกันของ 4 ชมรม 1 ครั้ง/เดือน

2.7  จัดทำโปสเตอร์ไม้ขนาดใหญ่เชิญชวนใส่หมวก นิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย ติดไว้ที่หน้าโรงพยาบาล           

การประเมินผล                  
 ด้านการป้องกันโรค

1. ประเมินจากการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิม ที่สามารถป้องกันได้ทุก  3  เดือน

2. ประเมินจากผลการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่

 ด้านการป้องกันอุบัติเหตุ

 กลุ่มผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป  ประเมินจาก

-  จำนวนผู้สวมหมวกนิรภัย

-  จำนวนผู้คาดเข็มขัดนิรภัย

-  จำนวนผู้ใช้ Alcohol   

 กลุ่มเจ้าหน้าที่   ประเมินจาก

-  เปรียบเทียบการเกิดอุบัติเหตุจราจร ปี 2542 และ 2543

                                -  เปรียบเทียบการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ปี 2542  และ 2543 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1.      ผู้รับบริการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิมที่สามารถป้องกันได้ลดลง

2.      จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรลดลงทั้งด้านปริมาณและความรุนแรง

3.      ผู้ขับขี่ยานยนต์มีการใช้หมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัยเพิ่มขึ้น  มีการใช้ Alcohol ก่อนและขณะการขับขี่ลดลง

4.      เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมีการสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่ยานยนต์  80 %  ขึ้นไป

5.      การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ลดลง


Main